วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกไปใช้กับเว็บเพจ หรืออุปกรณ์อื่น

บันทึกไปใช้กับเว็บเพจ หรืออุปกรณ์อื่น

รูปภาพที่นำไปใช้กับเว็บเพจ จะต่างจากรูปภาพที่นำไปใช้กับงานด้านอื่น ๆ คือ ชนิดของภาพที่จะนำไปใช้บนเว็บเพจนั้น ต้องเป็น GIF, JPG หรือ PNG เท่านั้น และควรให้ไฟล์มีขนาดเล็ก ขนาดภาพต้องพอดี ไม่ใหญ่จนเกินไป เมื่อผู้ชมเปิดเข้าไปในเว็บไซต์จะได้โหลดภาพได้เร็วยิ่งขึ้น โปรแกรมจึงมีคำสั่งสำหรับบันทึกรูปภาพไปใช้ในเว็บเพจโดยเฉพาะ คือ Save for Web & Devices โดยคำสั่งนี้จะให้กำหนดค่าออปชั่นการบันทึกภาพประเภทต่าง ๆ พร้อมกับดูภาพตัวอย่าง ขนาดของไฟล์ และระยะเวลาในการดาวน์โหลดเปรียบเทียบกันได้อีกด้วย ดังนี้
  1. เลือกคำสั่ง File > Save for Web & Devices
  2. กำหนดออปชั่นต่าง ๆ ในการแปลงไฟล์ แล้วดูภาพ ขนาด และเวลาในการดาวน์โหลดเปรียบเทียบกันในไดอะล็อกบ็อกซ์ Save for Web & Devices ดังภาพหน้า
  3. เลือกภาพจากกรอบตัวอย่างที่ต้องการใช้งาน
  4. คลิกปุ่ม Save เพื่อบันทึกภาพ
  5. บนไดอะล็อกบ๊อกซ์ Save Optimized As เลือกตำแหน่งโฟลเดอร์ที่จะจัดเก็บในช่อง Save in
  6. กำหนดชื่อไฟล์ภาพในช่อง File name
  7. คลิกปุ่ม Save



ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.siamfreestyle.com/travel-tip/Photoshop-Cs5

บันทึกไฟล์ทับของเดิม-บันทึกเป็นไฟล์รูปแบบอื่น ๆ

บันทึกไฟล์ทับของเดิม-บันทึกเป็นไฟล์รูปแบบอื่น ๆ


บันทึกไฟล์ทับของเดิม
การเปิดไฟล์ภาพมาตกแต่งสี, แสงเงา หรือกำหนดค่าเอฟเฟ็กต์ให้กับภาพ แต่ไม่ได้ใช้คำสั่งเกี่ยวกับการสร้างเลเยอร์ (เลเยอร์ คือ ชั้นที่จัดวางรูปภาพ) หรือสร้างกราฟิกอื่น ๆ เพิ่มเติมในภาพ เมื่อเลือกคำสั่ง File > Save โปรแกรมจะให้บันทึกทับชื่อไฟล์เดิม รูปแบบเดิม (จะไม่มีไดอะล็อกบ๊อกซ์ Save As เปิดขึ้นมา หากไม่ต้องการให้ทับไฟล์เดิม ต้องคลิกเลือกคำสั่ง File > Save As เอง)
บันทึกเป็นไฟล์รูปแบบอื่น ๆ
นอกจากการบันทึกเป็นไฟล์ .psd และบันทึกลงในรูปแบบของไฟล์ต้นฉบันเดิมแล้ว ยังบันทึกไฟล์ภาพเก็บไว้ในรูปแบบอื่น ๆ ได้ตามต้องการ โดยคลิกเลือกคำสั่ง File > Save As แล้วเลือกรูปแบบของไฟล์ในช่อง Format ซึ่งจะมีรูปแบบไฟล์ให้เลือกหลายแบบดังภาพ

การบันทึกไฟล์ภาพใน Photoshop Cs5

การบันทึกไฟล์ภาพใน Photoshop Cs5


การเปิดไฟล์ภาพขึ้นมาตกแต่งหรือแก้ไขด้วย Photoshop นั้นเมื่อสร้างหรือตกแต่งภาพเสร็จแล้ว เราจะต้องบันทึกไฟล์ด้วยเพื่อเก็บการเปลี่ยนแปลงที่ทำกับภาพ โดยเลือกบันทึกไฟล์ได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งานสำหรับไฟล์ประเภทแรกที่ควรบันทึกคือ รูปแบบ PSD ของ Photoshop เองเพื่อเก็บเป็นต้นฉบับไว้สำหรับนำมาแก้ไขในภายหลังจากนั้นจึงสั่งบันทึกไฟล์เป็นประเภทอื่น เช่น GIF หรือ JPG เพื่อให้เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานในแต่ละกรณี
บันทึกไฟล์ Photoshop (.PSD)
การแก้ไขไฟล์ภาพโดยการสร้างกราฟิก เพิ่มการตัดต่อ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะของไฟล์ภาพที่มีผลกับโครงสร้างเดิมของภาพ เมื่อเลือกคำสั่ง File > Save จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ Save As ขึ้นมา โดยจะเลือกรูปแบบของไฟล์เป็น Photoshop (*.PSD, *.PDD) เป็นค่าพื้นฐานดังนี้
** คุณสมบัติของไฟล์ PSD จะเก็บรายละเอียดการทำงานต่าง ๆ เช่น เลเยอร์, ฟอนต์ และเส้นพาธ ไว้ได้อย่างครบถ้วนช่วยให้การนำไฟล์ภาพกลับมาแก้ไขทำได้ง่าย ในขณะที่ไฟล์ประเภทอื่นจะเก็บข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ หรือได้เพียงบางส่วน

เปิดไฟล์แบบ Smart Object ใน Photoshop Cs5

เปิดไฟล์แบบ Smart Object ใน Photoshop Cs5

หากเราเปิดไฟล์ภาพขึ้นมา แล้วต้องการปรับย่อ-ขยายขนาดของภาพบนเลเยอร์โดยให้รักษาความคมชัดของภาพจากการปรับ ก็เลือกเปิดไฟล์ภาพแบบ Open As Smart Object ได้ ซึ่งจะเหมาะสำหรับภาพบิทแมพที่ต้องการเปิดมาแก้ไขขนาดของภาพหรือการเปิดไฟล์ภาพเวคเตอร์ เช่น Al หรือ PDF ดังนี้
วิธีการเปิดไฟล์แบบ Smart Object
  1. เลือกคำสั่ง File > Open As Smart Object
  2. เลือกตำแหน่งที่เก็บไฟล์ภาพ
  3. คลิกเลือกไฟล์ภาพ
  4. คลิก Open

การเปิดไฟล์ภาพที่มีอยู่เข้า Photoshop

การเปิดไฟล์ภาพที่มีอยู่เข้า Photoshop

Photoshop มีคุณสมบัติเด่นที่สามารถเปิดไฟล์รูปภาพประเภทต่าง ๆ ได้สารพัดรูปแบบ เช่น GIF, JPG (JPEG), TIF (TiFF), BMP, PNG และอื่นๆ รวมทั้งไฟล์ PSD ซึ่งเป็นรูปแบบพื้นฐานของ Photoshop เอง
วิธีเปิดไฟล์ทำได้ดังนี้
  1. เลือกคำสั่ง File > Open (หรือกดคีย์ลัด Ctrl+O)
  2. ในช่อง Look in เลือกไดรว์ และโฟลเดอร์ที่จัดเก็บไฟล์
  3. ดูตัวอย่างภาพ และคลิกเลือกชื่อไฟล์จากรายการ (กด Shift หรือ Ctrl ช่วยเลือกหลาย ๆ ไฟล์ได้)
  4. คลิกปุ่ม Open

ถ้าต้องการเปิดไฟล์ภาพล่าสุดที่เพิ่งใช้ไปไม่นาน ซึ่งจะช่วยลดเวลาการหาภาพในเครื่องของเราได้ มีวิธีการดังนี้ไปที่คำสั่งFile > Open Recent > เลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ

การปิด Panel ต่างๆ ใน Photoshop Cs5

การปิด Panel ต่างๆ ใน Photoshop Cs5

วิธีการปิด Panel
วิธีที่
  • 1เลือกคำสั่ง Window >คลิกที่ชื่อ Panel ที่ต้องการปิด
วิธีที่ 2
  • คลิกขวาบนแถบชื่อพาเนล แล้วเลือก Close
วิธีที่ 3
  • แล้วเลือก Close หรือ Close Tab Group ได้

การเปิด Panel ต่างๆ ใน Photoshop Cs5

การเปิด Panel ต่างๆ ใน Photoshop Cs5

วิธีการเปิด Panel
การเปิดพาเนลใด ๆ ขึ้นมาใช้งานนั้นสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
วิธีที่ 1 เลือกเปิดจากเมนู Window
- เลือกคำสั่ง Windowเลือก Panel ที่ต้องการเปิด หรืออาจจะกดคีย์ลัดก็ได้ ซึ่งแสดงอยู่หลังชื่อแต่ละ Panel

วิธีที่ 2
- คลิกเปิด/ปิดพาเนล จากไอคอนที่แสดงอยู่บนแถบพาเนลที่พับเก็บ
- คลิกที่ชื่อแถบพาเนลที่ซ้อนกันอยู่ ซึ่งอาจจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

การใช้โปรแกรม Photoshop Cs5

การใช้โปรแกรม Photoshop Cs5 

ส่วนประกอบของโปรแกรม Photoshop Cs5 พิมพ์

Photoshop Cs5 จะแตกต่างจาก Cs3 และ Cs4 ไปบ้างเล็กน้อย กล่าวคือโดยพื้นฐานจะคงเดิม แต่จะปรับการใช้งานให้ดูง่ายขึ้น มีการเก็บรวบรวมเครื่องมือที่เกี่ยวข้องเอาไว้ในที่เดียวกัน เพิ่มชุดเครื่องมือเข้ามาใหม่ และยังลดขั้นตอนการทำงานให้น้อยลง ทำให้ใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น ในเวอร์ชั่นนี้ได้เพิ่มคำสั่ง และแถบเครื่องมือที่ใช้บ่อย ๆ วางแยกออกมาจากกลุ่มเครื่องมือเดิม เช่น เครื่องมือปรับมุมมอง เครื่องมือปรับแต่งภาพที่รวมอยู่ในพาเนลเดียวกัน เช่น พาเนล Adjustments ส่วนการทำงานหลัก ๆ ยังคงอิงการใช้งานเหมือนเวอร์ชั่นที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งหน้าจอใหม่ของ Photoshop Cs5 ก็จะมีส่วนประกอบดังภาพ

ส่วนประกอบของโปรแกรม Photoshop Cs5

1

Application Bar (แอพพลิเคชั่นบาร์) จะเป็นแถบเครื่องมือที่เก็บปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อย ๆ เอาไว้ เช่น เปิดโปรแกรม Bridge หมุนพื้นที่ทำงาน ย่อ-ขยายภาพ, จัดเรียงวินโดว์ภาพ และจัดองค์ประกอบของเครื่องมือตามพื้นที่ใช้งาน (Workspace)
Menu Bar (เมนูบาร์) ประกอบด้วยกลุ่มคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้จัดการกับไฟล์, ทำงานกับรูปภาพ และใช้การปรับแต่งการทำงานของโปรแกรม โดยแบ่งเมนูตามลักษณะงาน นอกจากนี้บางเมนูหลัก จะมีเมนูย่อยซ้อนอยู่ โดยสังเกตจากเครื่องหมาย 3 ซึ่งคุณต้องเปิดเข้าไปเพื่อเลือกคำสั่งภายในอีกที
Tool Panel (ทูลพาเนล) หรือ กล่องเครื่องมือ จะประกอบไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาด ตกแต่ง และแก้ไขภาพ เครื่องมือเหล่านี้มีจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการรวมเครื่องมือที่ทำหน้าที่คล้าย ๆ กันไว้ในปุ่มเดียวกัน โดยจะมีลักษณะรูปสามเหลี่ยมอยู่บริเวณมุมด้านล่างดังภาพ 2 เพื่อบอกให้รู้ว่าในปุ่มนี้ยังมีเครื่องมืออื่นอยู่ด้วย
Option Bar (ออปชั่นบาร์) เป็นส่วนที่ใช้ปรับแต่งค่าการทำงานของเครื่องมือต่าง ๆ โดยรายละเอียดในออปชั่นบาร์จะเปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่เราเลือกจากทูลบ็อกซ์ในขณะนั้น เช่น เมื่อเราเลือกเครื่องมือ Brush (พู่กัน) บนออปชั่นบาร์จะปรากฏออปชั่นที่ใช้ในการกำหนดขนาด และลักษณะหัวแปรง, โหมดในการระบายความโปร่งใสของสี และอัตราการไหลของสี เป็นต้น
Panel (พาเนล) เป็นวินโดว์ย่อย ๆ ที่ใช้เลือกรายละเอียด หรือคำสั่งควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของโปรแกรม ใน Photoshop มีพาเนลอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น พาเนล Color ใช้สำหรับเลือกสี, พาเนล Layers ใช้สำหรับจัดการกับเลเยอร์ และพาเนล Info ใช้แสดงค่าสีตรงตำแหน่งที่ชี้เมาส์ รวมถึงขนาด/ตำแหน่งของพื้นที่ที่เลือกไว้

การใช้โปแกรม Microsoft PowerPoint 2010

การใช้โปแกรม Microsoft  PowerPoint 2010

        ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2010

พิมพ์

เมื่อเปิดโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2010 ขึ้นมา จะแสดงหน้าต่างของโปรแกรม และส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1

       ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม
1. ปุ่ม แฟ้ม (File) = เป็นส่วนที่ใช้เก็บคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้งานในโปรแกรม เช่น คำสั่ง สร้าง (New), บันทึก (Save) เป็นต้น
2. แถบเครื่องมือด่วน (Quick Access) = เป็บแถบที่ใช้แสดงคำสั่งที่ใช้งานบ่อย ๆ ขึ้นมาให้เราสามารถเรียกใช้งานได้ทันที
3. แถบชื่อเรื่อง (Title bar) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงชื่อโปรแกรม และรายชื่อไฟล์ที่ได้เปิดใช้งานอยู่
4. ปุ่มควบคุม = Windows เป็นปุ่มที่ใช้ควบคุมการ เปิด-ปิด และขยายหน้าต่างโปรแกรมที่ได้เปิดขึ้นมา
5. ริบบอน (Ribbon) = เป็นแถบที่ใช้รวบรวมเครื่องมือการใช้งานเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน
6. Slide and outline = เป็นส่วนที่ใช้แสดงแบบจำลองของภาพนิ่งทั้งหมดที่มีอยู่ในสไลด์โชว์
7. Slide Pane = เป็นพื้นที่ที่ใช้แสดงรายละเอียดของสไลด์โชว์
8. Note Pane = เป็นส่วนที่ใช้ใส่ข้อความเพิ่มเติมลงไปในสไลด์โชว์
9. Status Bar = เป็นส่วนที่ใช้แสดงรายละเอียดของสไลด์โชว์ที่เปิดขึ้นมาใช้งาน

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

กล้วยไม้ไทย


ประวัติความมาของกล้วยไม้
กล้วยไม้มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "orchid" น่าแปลกที่ทั้งในภาษาไทยและอังกฤษต่างก็มีความหมายใกล้เคียงกัน เราเรียกพืชชนิดนี้ว่า กล้วยไม้ เพราะมีลักษณะ คล้ายกล้วย ได้แก่เอื้องต่าง ๆ เช่น เอื้องผึ้ง หรือเอื้องคำ ซึ่งมีมากในแถบภาคเหนือของประเทศ ส่วนของกล้วยไม้บางตอนมีลักษณะคล้ายผลกล้วยเราเรียกว่า ลำลูกกล้วย คำ "orchid" นั้น มาจากภาษากรีกหมายความถึงลักษณะโป่งเป็นกระเปาะคล้ายต่อมชื่อนี้ก็คงจะได้มาจากการพิจารณาจากลำลูกกล้วยที่เป็นส่วนของกล้วยบางชนิดเช่นเดียวกันแต่ลักษณะพื้นฐานทาง พฤกษศาสตร์ ที่บรรยายลักษณะพืชในวงศ์กล้วยไม้ ได้ยึดถือรายละเอียดต่าง ๆ ของดอกเป็นหลักสำคัญพันธุ์ไม้ในวงศ์กล้วยไม้ด้วย กล้วยไม้มีสภาวะความเป็นอยู่ตามธรรมชาติแตกต่างกัน บางชนิดอยู่บนพื้นดินบางชนิดอยู่บนต้นไม้ และบางชนิดขึ้นอยู่บนหินที่มีหินผุและใบไม้ผุ ตกทับถมกันอยู่ ทั้งนี้สุดแล้วแต่ลักษณะและอุปนิสัยของกล้วยไม้แต่ละชนิด ซึ่งจะปรับตัวตามความเหมาะสมกับสภาวะและการเปลี่ยนแปลงตามสภาพต่าง ๆ ของธรรมชาติที่แวดล้อม

ไปเที่ยววันที่14ธันวาคม 2555

ไปเที่ยวที่สวนสัตว์โคราชสนุกมาก มีสัตว์มากมาย หลายชนิดที่เราไม่ค่อยพบเห็น